วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ขุนช้างขุนแผน


เรื่องย่อขุนช้างขุนแผน 
เนื้อเรื่องตอนที่ 1 เปิดเรื่อง
กล่าวถึงกำเนิดของตัวละครสำคัญสามตัว คือ ขุนแผน ขุนช้าง และนางพิมพิลาไลย พลายแก้วเป็นลูกของขุนไกรพลพ่ายกับ
นางทองประศรี เมื่อบิดาถูกสมเด็จพระพันวษารับสั่งให้ประหารชีวิต เพราะความผิดที่ได้ฆ่ากระบือเป็นจำนวนมากหน้าพระที่นั่ง เนื่องจากกระบือแตกตื่นขวิดผู้คน เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรีเพื่อล่ากระบือ มารดาจึงพาไปอยู่กับญาติที่เมืองกาญจนบุรี ขุนช้างเป็นลูกของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง บิดาถูกโจรฆ่าตาย นางพิมเป็นลูกของพันศรโยธากับนางศรีประจัน บิดาเป็นไข้ป่าถึงแก่ความตาย


ทั้งพลายแก้ว ขุนช้าง และนางพิมเป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เด็ก พลายแก้วได้บวชเป็นสามเณรและ เล่าเรียนวิชาที่กาญจนบุรี ต่อมาย้ายมาอยู่วัดป่าเลไลยก์เมืองสุพรรณ ส่วนขุนช้างแต่งงานกับนางแก่นแก้วได้ปีกว่าภรรยาก็ตาย นางพิมพบกับเณรแก้วที่วัด
เมื่อคราวไปทำบุญกับมารดา ต่างก็จำกันได้จึงมีจิตผูกรักต่อกัน ต่อมาได้นางสายทองพี่เลี้ยงของนางพิมเป็นสื่อนัดแนะ จนเณรแก้วได้เสียกับนางพิม และได้นาง สายทองด้วยเมื่อถูกสมภารให้ออกจากวัดป่าเลไลยก์ ก็ไปอยู่กับสมภารคงวัดแค และได้เล่าเรียนวิชาทางไสยศาสตร์หลายอย่าง ต่อมาเมื่อทราบว่าขุนช้างได้มาสู่ขอนางพิม เณรแก้วจึงลาอาจารย์สึกแล้วให้มารดา
สู่ขอนางพิมและแต่งงานกันตามประเพณี


เมื่อเกิดศึกเชียงใหม่ยกมาตีเมืองเชียงทอง อันเป็นอาณาเขตกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาทรงทราบถึงความสามารถของพลายแก้ว ก็รับสั่งให้เข้าเฝ้า และแต่งตั้งให้แม่ทัพไปรบที่เชียงทอง จนตีเมือง เชียงทองได้ชัยชนะ แล้วยกทัพตามทัพเชียงใหม่ไปถึงลำพูน ตั้งค่ายที่บ้านจอมทอง แสนคำแมนได้ยกนาง ลาวทองให้เป็นภริยา หลังจากพลายแก้วไปแล้วไม่นาน นางพิมได้ล้มป่วย เมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นวันทองจึงหายป่วย ขุนช้างซึ่งยังต้องการนางเป็นภริยาได้ใช้อุบายต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าพลายแก้วตายแล้ว และอ้างว่าเมื่อสามีไปทัพตายภรรยาจะถูกริบเป็นม่ายหลวง ประกอบทั้งถูกมารดาบังคับเฆี่ยนตี นางวันทองจึงเข้าพิธีแต่งงานกับขุนช้าง แต่ยังรออยู่ไม่ยอมร่วมหอ


ฝ่ายพลายแก้ว เมื่อมีชัยชนะกลับมา ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน คุมไพร่พลห้าร้อยมีหน้าที่รักษาเขตแดน
ทางเมืองกาญจนบุรี เมื่อเดินทางมาสุพรรณบุรีทราบเรื่องจากนางวันทอง ก็มีความโกรธจะฆ่าขุนช้าง แต่นางลาวทองซึ่งมากับขุนแผนด้วยได้ห้ามไว้ นางวันทองกับนางลาวทองเกิดทะเลาะกันด้วยความหึงหวง เป็นเหตุให้นางวันทองกล่าวถ้อยคำก้าวร้าวขุนแผน ขุนแผนโกรธถึงกับจะฆ่านางวันทองพร้อมทั้งแสดงอาการไม่ไยดี พานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี นางวันทองคิดว่าขุนแผนสิ้นรักนางแล้วจึงยอมเป็นภริยาขุนช้าง


เนื้อเรื่องตอนที่ 2 ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง
ต่อมาขุนแผนลอบขึ้นเรือนขุนช้าง ใช้มนต์สะกดผู้คนในเรือนแล้วเข้าห้อง เห็นขุนช้างนอนอยู่กับนางวันทองก็โกรธ จึงมัดขุนช้างกับนางวันทองติดกัน แล้วให้ตามผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาให้รับรู้ พร้อมแจ้งให้กำนันทราบแล้วก็กลับไป ต่อมามีรับสั่งให้ขุนแผนเข้าไปฝึกหัดราชการที่กรุงศรีอยุธยา พอถึงเวรขุนแผน บังเอิญนางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนฝากเวรไว้กับขุนช้างซึ่งได้รับราชการอยู่ด้วยกัน แล้วออกไปเผ้าไข้ นางลาวทอง เมื่อสมเด็จพระพันวษาเสด็จ
ออกว่าราชการไม่เห็นขุนแผนก็รับสั่งถามถึง ขุนช้างคิดกำจัดขุนแผน จึงทูลว่าขุนแผนละทิ้งหน้าที่ไปหาภริยาจึงทรงกริ้ว สั่งลงโทษขุนแผนให้ออกตระเวนอยู่ตามชายแดน ห้ามเข้ามาในกรุงและกักขังนางลาวทองไว้ในพระราชวัง


ขุนแผนเมื่อทราบความจริง จึงผูกพยาบาทขุนช้าง ขณะเดียวกันก็แสวงหาของวิเศษที่ทำให้มีฤทธิ์มาก คือกุมารทอง ดาบฟ้าฟื้น และม้าสีหมอก โดยได้ฝากตัวอยู่กับหมื่นหาญซึ่งเป็นนายซ่องโจรได้นาง บัวคลี่ ลูกสาวหมื่นหาญเป็นภริยา ต่อมาหมื่นหาญไม่พอใจที่ขุนแผนไม่ยอมออกปล้น จึงคิดกำจัดเสีย โดยให้นางบัวคลี่วางยาพิษ แต่พรายได้กระซิบให้ขุนแผนรู้ ขุนแผนจึงฆ่าบัวคลี่ ควักเอาลูกในท้องไปทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง เมื่อกลับมากาญจนบุรีก็ทำพิธีตีดาบตามตำรามหาศาสตราคม ให้ชื่อว่าดาบฟ้าฟื้น แล้วเดินทางไปแสวงหาม้าสีหมอกตามตำราที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อได้แล้วก็เดินทางกลับกาญจนบุรี
ต่อมาขุนแผนคิดถึงนางวันทองจึงเดินทางไปสุพรรณบุรี ขึ้นเรือนขุนช้างในเวลากลางคืน สะกดผู้คนให้หลับแล้วเดินหาห้องนางวันทอง พบนางแก้วกิริยาบุตรีพระยาสุโขทัยซึ่งบิดานำมาขายให้ขุนช้าง ได้เป็นภริยาแล้วมอบเงินให้ไว้ไถ่ตัว ขุนแผนได้พานางวันทอง
หนีไปจากบ้านขุนช้าง ชุนช้างพาพวกพ้องติดตามไปทันในป่าแต่สู้ขุนแผนไม่ได้ จึงเข้ากราบทูลกล่าวโทษขุนแผนต่อพระพันวษา พระพันวษาจึงมีหมายรับสั่งให้จับขุนแผนกับนางวันทองส่งมากรุงศรีอยุธยา ขุนแผนพานางวันทองซึ่งกำลังมีครรภ์ เข้ามอบตัวต่อเจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิจิตรทำใบบอกส่งตัวขุนแผนกับนางวันทองเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา นางแก้วกิริยาซึ่งได้ไถ่ตัวเป็นอิสระแล้ว ได้พบขุนแผนกับนางวันทองซึ่งถูกจองจำโซ่ตรวนระหว่างถูกส่งตัวเข้ามายังกรุง
ศรีอยุธยาด้วย สมเด็จพระพันวษารับสั่งให้ชำระคดีระหว่างขุนแผนกับขุนช้าง คณะตุลาการตัดสินให้ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทอง
คืนไป


เมื่อขุนแผนชนะความแล้วไม่นานก็คิดถึงนางลาวทอง ซึ่งถูกกักขังอยู่ จึงขอให้จมื่นศรีเสาวรักษ์ ผู้ที่ตนมาอาศัยอยู่ด้วยทูลขอ
อภัยโทษให้นางลาวทอง พอกราบทูล พระพันวษาทรงกริ้วมากสั่งให้เอาขุนแผนไปจองจำไว้ นางแก้วกิริยาได้เข้าไปปรนนิบัติ
ขุนแผนอยู่ในคุก ส่วนนางวันทองถูกขุนช้างกับบ่าวไพร่มาฉุดคร่าไปสุพรรณบุรี นางจึงอยู่กับขุนช้างจนคลอดบุตรให้ชื่อว่า พลายงาม


ขุนช้างคิดกำจัดพลายงามอยู่ตลอดเวลาเพราะรู้ว่าเป็นลูกขุนแผน เมื่อพลายงามอายุ 10 ขวบ ขุนช้างได้ลวงพลายงามไปป่า
เพื่อฆ่าให้ตาย แต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ นางวันทองให้พลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรี นางทองประศรีได้เลี้ยงดูพลายงาม และพาไปเยี่ยมขุนแผนในคุก นางได้สั่งสอนคาถาอาคมต่าง ๆ ตามตำราของขุนแผนให้จนแก่กล้าเหมือนขุนแผน พออายุได้ 13 ปี พลายงามก็มาอยู่กับ จมื่นศรีฯ เพื่อให้พาเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก


เนื้อเรื่องตอนที่ 3 ศึกที่เมืองเชียงใหม่
ต่อมาเกิดศึกระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากพระเจ้าล้านช้างได้ส่งนางสร้อยทองราชธิดามาถวายสมเด็จ
พระพันวษา และพระเจ้าเชียงใหม่ได้มาชิงนางสร้อยทองไปในระหว่างทาง สมเด็จพระพันวษาโปรดโปรดให้หาผู้อาสายกทัพไปรบ จมื่นศรีฯได้นำพลายงามเข้าอาสา ทรงโปรดให้พลายงามยกทัพไปพร้อมกับพระราชทานอภัยโทษให้ขุนแผนและนางลาวทอง โปรดให้ขุนแผนไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ด้วย ก่อนไปขุนแผนให้รับนางทองประศรีมาอยู่กับนางลาวทองและนางแก้วกิริยา
ในกรุงศรีอยุธยา ตอนขุนแผนกรีธาทัพไปตีเชียงใหม่นางแก้วกิริยาก็คลอดบุตรให้ชื่อว่า พลายชุมพล


ระหว่างเดินทัพไปตีเชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะเยี่ยมเจ้าเมืองพิจิตร และรับม้าสีหมอก ซึ่งฝากไว้เมื่อคราวเข้ามอบตัวด้วย พลายงามได้สู้รบกับทัพเมืองเชียงใหม่จนได้ชัยชนะ ได้นางสร้อยทองคืน ในการยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้นำพระเจ้าเชียงใหม่ มเหสี และนางสร้อยฟ้าผู้เป็นธิดาลงมาด้วย สมเด็จพระพันวษาทรงแต่งตั้งให้ขุนแผนเป็นพระสุรินทรฦาไชย ครองเมืองกาญจนบุรี ตั้งพลายงามให้เป็นจมื่นไวยวรนาถ ให้พระเจ้าเชียงใหม่กลับไปครองเมืองเช่นเดิม ทรงแต่งตั้งนางสร้อยทองให้เป็นพระสนม และ
พระราชทานสร้อยฟ้าแก่จมื่นไวย ฯ ซึ่งได้แต่งงานกับนางสร้อยฟ้าและศรีมาลาพร้อมกัน


ในวันแต่งงาน ขุนช้างซึ่งมาในงานด้วยได้ดื่มเหล้าจนเมาแล้วเกิดทะเลาะกัน จมื่นไวย ฯ บันดาลโทสะทำร้ายขุนช้าง ต่อมาขุนช้างเข้าเฝ้ากราบทูลกล่าวโทษจมื่นไวย ฯ เมื่อมีการสืบเรื่องที่ขุนช้างทำร้ายจมื่นไวย ฯ สมัยเมื่อเป็นเด็กขึ้น ขุนช้างปฏิเสธ จึงมีการพิสูจน์โดยการดำน้ำก็ปรากฏว่าขุนช้างแพ้ รับสั่งให้ประหารชีวิตขุนช้าง แต่จมื่นไวย ฯ ได้ทูลขอพระราชทานอภัยโทษไว้ ต่อมาจมื่นไวย ฯ คิดแค้นที่แม่ไปอยู่กับขุนช้าง จึงลอบขึ้นเรือนขุนช้างกลางดึก อ้อนวอนและบังคับนางวันทองไปกับตน นางไม่อาจขัดขืนได้ก็ยอมไป ขุนช้างแค้นเคืองมากที่จมื่นไวยฯ ลักนางวันทองไป จึงทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยฯ เมื่อโปรดให้ไต่สวนคดีตามฎีกาของขุนช้าง ให้นางวันทองซึ่งเป็นคนกลางตัดสินใจว่าจะเลือกอยู่กับขุนช้าง ขุนแผน หรือจมื่นไวย ฯ นางทูลตอบว่ารักทั้ง 3 คนเท่า ๆ กัน สมเด็จพระพันวษาทรงกริ้วหาว่าเป็นคนสองใจ จึงรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิต แม้ว่าจมื่นไวยฯ ได้กลับไปเข้าเฝ้าทูลขอพระราชทานอภัยโทษ และทรงโปรดพระราชทานก็ตาม แต่เพชฌฆาตได้ลงดาบก่อนที่จะยับยั้งไว้ทัน นางวันทองจึงถูกประหารชีวิต


เนื้อเรื่องตอนที่ 4 กรณีสร้อยฟ้ากับศรีมาลา
ฝ่ายนางสร้อยฟ้ากับนางศรีมาลา ภริยาของจมื่นไวย ฯ มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันด้วยความหึงหวงอยู่เสมอ เนื่องจากหมื่นไวย ฯ รักนางศรีมาลามากกว่า นางสร้อยฟ้าจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์เพื่อจมื่นไวย ฯ จะได้หลงรัก จมื่นไวย ฯ หลงเสน่ห์จนถึงกับทุบตีนางศรีมาลา และพลายชุมพลได้เข้าขัดขวาง พลายชุมพลจึงหนีไปพบพ่อและแม่ที่กาญจนบุรี เล่าเรื่องจมื่นไวย ฯ ให้พ่อแม่ฟัง แล้วไปอยู่กับตายายที่สุโขทัย ฝ่ายขุนแผนก็มากรุงศรีอยุธยาเพื่อแก้เสน่ห์ ส่วนนางศรีมาลาก็แจ้งข่าวไปเมืองพิจิตรว่าตนป่วย ให้พ่อกับแม่รีบลงมา เมื่อทุกคนมาพร้อมกันก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ซ้ำขุนแผนกลับทะเลาะกับจมื่นไวย ฯ ถึงขนาดตัดพ่อตัดลูก จนต้องเดินทางกลับกาญจนบุรีด้วยความแค้น


พลายชุมพลเมื่อไปอยู่กับตายายที่สุโขทัยก็บวชเป็นเณร ได้เล่าเรียนหนังสือและวิชาคาถาอาคมจนเชี่ยวชาญ เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ตนหนีมาก็แค้นใจมาก จึงได้นัดหมายกับขุนแผนจะไปล้างแค้น
จมื่นไวย ฯ จึงสึกจากเณรแล้วปลอมตัวเป็นมอญใหม่ คุมทัพหุ่นยกมาทำทีจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษารับสั่งให้ขุนแผนยกไปต่อสู้ ขุนแผนทำเป็นแพ้ให้พลายชุมพลจับตัวไป จมื่นไวย ฯ อาสาออกรบ
เดินทัพมาพบเปรตนางวันทองห้ามทัพไว้แต่ไม่สำเร็จ เมื่อจมื่นไวย ฯ กับพลายชุมพลรบติดพันกันอยู่ ขุนแผนเข้ามาจะฟันจมื่นไวย ฯ จมื่นไวย ฯ จึงหนีเข้ามากราบทูลให้สมเด็จพระวษาทรงทราบ จึงโปรดให้นางศรีมาลาไปรับขุนแผนและพลายชุมพลเข้ามา ขุนแผนกราบทูลเรื่องจมื่นไวย ฯ ถูกเสน่ห์ พลายชุมพลกับจมื่นไวยฯ อาสาไปจับเสน่ห์ โดยปลอมตัวนำของมึนเมาไปมอมเถรขวาด จนรู้รายละเอียดแล้วจึงจับเถรขวาดขังไว้ แต่เถรขวาดก็สะเดาะโซ่ตรวน แปลงตัวเป็นจระเข้หนีไปได้


เมื่อโปรดให้มีการไต่สวนคดีทำเสน่ห์ โดยให้นางสร้อยฟ้ากับนางศรีมาลาลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์นางสร้อยฟ้าเป็นฝ่ายแพ้ จึงโปรดให้ประหารชีวิตนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาทูลขอพระราชทานชีวิตไว้ เพราะนางสร้อยฟ้ากำลังมีครรภ์ จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่ถูกเนรเทศออกจากกรุงศรีอยุธยา นางสร้อยฟ้าจึงเดินทางไปเชียงใหม่ พบเถรขวาดระหว่างทาง จึงเดินทางไปด้วยกัน ต่อมานางคลอดบุตรให้ชื่อว่าพลายยงพงศ์นพรัตน์ ฝ่ายนางศรีมาลาก็คลอดลูกเป็นชายเช่นกัน ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร ฝ่ายเถรขวาดซึ่งได้เป็นสังฆราชเชียงใหม่คิดจะแก้แค้นพลายชุมพล จึงแปลงตัวเป็นจระเข้อาละวาดมาจนถึงกรุง
ศรีอยุธยา ก็ถูกพลายชุมพลจับได้ และถูกลงโทษประหารชีวิต แล้วพลายชุมพลได้รับแต่งตั้งให้เป็นหลวง
นายฤทธิ์มหาดเล็กรักษาพระองค์

S
A
T
U
R
D
A
Y
2
2
S
E
P
T
E
M
B
E
R
2
0
1
2
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

การอ่านจับใจความสำคัญ


การอ่านจับใจความ

ความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ

คือ การอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด

ใจความสำคัญ หมายถึง ใจความที่สำคัญ และเด่นที่สุดในย่อหน้า เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความในประโยคอื่นๆ ในย่อหน้านั้นหรือประโยคที่สามารถเป็นหัวเรื่องของย่อหน้านั้นได้ ถ้าตัดเนื้อความของประโยคอื่นออกหมด หรือสามารถเป็นใจความหรือประโยคเดี่ยวๆ ได้ โดยไม่ต้องมีประโยคอื่นประกอบ ซึ่งในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยคในความสำคัญเพียงประโยคเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ประโยค

ใจความรอง หรือพลความ(พน-ละ-ความ) หมายถึง ใจความ หรือประโยคที่ขยายความประโยคใจความสำคัญ เป็นใจความสนับสนุนใจความสำคัญให้ชัดเจนขึ้น อาจเป็นการอธิบายให้รายละเอียด ให้คำจำกัดความ ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ หรือแสดงเหตุผลอย่างถี่ถ้วน เพื่อสนับสนุนความคิด ส่วนที่มิใช่ใจความสำคัญ และมิใช่ใจความรอง แต่ช่วยขยายความให้มากขึ้น คือ รายละเอียด

หลักการจับใจความสำคัญ

๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน

๒. อ่านเรื่องราวอย่างคร่าวๆ พอเข้าใจ และเก็บใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า

๓. เมื่ออ่านจบให้ตั้งคำถามตนเองว่า เรื่องที่อ่าน มีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

๔. นำสิ่งที่สรุปได้มาเรียบเรียงใจความสำคัญใหม่ด้วยสำนวนของตนเองเพื่อให้เกิดความสละสลวย

วิธีจับใจความสำคัญ

วิธีการจับใจความมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความชอบว่าอย่างไร เช่น การขีดเส้นใต้ การใช้สีต่างๆ กัน แสดงความสำคัญมากน้อยของข้อความ การบันทึกย่อเป็นส่วนหนึ่งของการอ่านจับใจความสำคัญที่ดี แต่ผู้ที่ย่อควรย่อด้วยสำนวนภาษาและสำนวนของตนเองไม่ควรย่อด้วยการตัดเอาข้อความสำคัญมาเรียงต่อกัน เพราะอาจทำให้ผู้อ่านพลาดสาระสำคัญบางตอนไปอันเป็นเหตุให้การตีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ วิธีจับใจความสำคัญมีหลักดังนี้

๑. พิจารณาทีละย่อหน้า หาประโยคใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า

๒. ตัดส่วนที่เป็นรายละเอียดออกได้ เช่น ตัวอย่าง สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมย(การเปรียบเทียบ) ตัวเลข สถิติ ตลอดจนคำถามหรือคำพูดของผู้เขียนซึ่งเป็นส่วนขยายใจความสำคัญ

๓. สรุปใจความสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตนเอง

การพิจารณาตำแหน่งใจความสำคัญ

ใจความสำคัญของข้อความในแต่ละย่อหน้าจะปรากฏดังนี้

๑. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นของย่อหน้า

๒. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนกลางของย่อหน้า

๓. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนท้ายของย่อหน้า

๔. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นและตอนท้ายของย่อหน้า

๕. ผู้อ่านสรุปขึ้นเอง จากการอ่านทั้งย่อหน้า(ในกรณีใจความสำคัญหรือความคิดสำคัญอาจอยู่รวมในความคิดย่อย ๆ โดยไม่มีความคิดที่เป็นประโยคหลัก)

การไหว้


การไหว้

การไหว้แบบไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับบุคคลดังนี้
ระดับที่ 1 ได้แก่ การไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนตรง ย่อเข่าลงให้ต่ำโดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และ ผู้ที่เราเคารพนับถืออย่างสูง โดยประนมมือให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนตรง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อยพร้อมยกมือไหว้
ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่วไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส โดยประนมมือยกขึ้น ให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
ชาย ยืนตรงค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระผู้มีพระคุณพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนตรง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระผู้มีพระคุณ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อยพร้อม
กับยกมือไหว้

การฟังที่ดี

การฟังที่ดี
ปัญหาความขัดแย้ง เป็นเรื่องธรรมดาในการอยู่ร่วมกันหรือคบค่าสมาคมกัน เพราะสังคมประกอบด้วยบุคคลหลาย ๆ รูปแบบ มาจากครอบครัวที่ต่างกัน มีพื้นฐานการเลี้ยงดูวัฒนธรรม ประเพณีการศึกษา การใช้ชีวิตตลอดจนนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน ดังนั้น ปัญหาหรือความขัดแย้งต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นอยู่ได้ตลอดเวลา เราก็อาจจะเป็นคนหนึ่งในหลายคน ที่ต้องตกเป็นผู้รับฟังการระบายปัญหาหรือการเล่าถึงความขัดแย้งกับคนอื่น ๆ จากผู้ร่วมงานจากคนใกล้ชิด จากเพื่อนสนิทหรือผู้มารับบริการอยู่บ่อย ๆ บางครั้งเราอาจจะใช้ความเห็นส่วนตัว ดุลยพินิจที่เข้าข้างตัวเอง ตอบโต้ปัญหาหรือความคัดแย้งเหล่านั้น จนถึงขนาดก่อศัตรู หรือเพิ่มความหมาดหมาง เครียดแค้นให้ลุกลามมากขึ้นก็อาจเป็นได้ ดังนั้นการที่จะเป็นผู้รับฟังปัญหาที่ดีมีประสิทธิภาพได้นั้น ก็ต้องมีการเรียนรู้วิธีการรับฟังที่เหมาะสมคือ
1. จะรับฟังปัญหาอย่างไรไม่ให้ตัวเราเครียด หดหู่ใจ ไม่สบายใจ
- ต้องอยู่ในอารมณ์ที่ผ่อนคลาย ไม่มีความวิตกกังวลใจพร้อมที่จะรับฟังปัญหาผู้อื่น
- ขณะรับฟังปัญหา ต้องรับฟังอย่างสงบ ไม่สร้างอารมณ์ร่วมไปกับผู้เล่า ต้องฟังอย่างเข้าใจ และรู้ถึงความรู้สึกและอารมณ์ของเขา แต่อย่าให้มีอารมณ์ทุกข์โศก โกรธแค้น ร่วมกับผู้เล่า หรือรับเอาความรู้สึกเข้ามาไว้กับตัวเองรับฟังอย่างมีสติมั่นคง ก็จะทำให้มองปัญหาได้ชัดแจ้งกว่า และสามารถชี้ให้เห็นถึงเหตุผล และแนวทางในการแก้ไขได้ดีกว่า
- ไม่ควรรับฟังปัญหานั้น นานเกินไป จะทำให้เราเกิดความเครียดได้ง่าย ควรหาวิธีละมุนละม่อม เพื่อให้ยุติการเล่าเมื่อใช้ระยะเวลานานเกินไป
2. จะรับฟังปัญหาอย่างไรไม่ให้เกิดศัตรู หรือเพิ่มความบาดหมางเคียดแค้น
- ต้องรับฟังอย่างเป็นกลาง รู้จักยับยั้งชั่งใจ คล้อยตามหรือส่งเสริมผู้เล่า และไม่กล่าวทับถมบุคคลที่สาม โดยระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครสามารถถ่ายทอดคำพูดของผู้อื่นไว้ทุกคำพูด โดยไม่ผิดเพี้ยน ไม่มีใครตีความหมายหรือแปลเจตนารมย์ของผู้พูดได้อย่างถูกต้องโดยไม่ผิดเลย ทุกคนย่อมเข้าข้างตัวเองเสมอ บางครั้งมักต่อเติมเสริมแต่งพูดรุนแรง เกินความจริง เพราะอคติหรือเกิดอารมณ์ ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ผู้เล่าเกิดอคติต่อคู่กรณีมากขึ้น ไม่ทำให้เราเองเกิดความโกรธแค้นกับผู้ที่ถูกว่ากล่าว ซึ่งอาจเป็นปัญหาสามเส้า หรือเกิดให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก ก่อศัตรูขึ้นมาได้จึงควรจะรับฟังปัญหาอย่างเป็นกลาง ด้วยการ
1. เป็นผู้ฟังที่ดี เพื่ออีกฝ่ายได้ระบาย และปลดปล่อยอารมณ์คับแค้นออกมา
2. แสดงท่าทีและใช้คำพูดปลอบโยน ให้อารมณ์งบลงสัมผัสอย่างอ่อนโยนด้วยความเข้าใจ จะช่วยให้จิตใจของผู้เล่าดีขึ้นบ้าง เช่น “ ใจเย็นๆ ” “ เดี๋ยวค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จากันก่อน ”
3. ใช้คำพูดในทางบวกเพื่อลดอคติ เช่น “ เขาคงไม่เจตนาทำแบบนั้น ” “ เขาพูดล้อเล่นหรือเปล่า ”
4. ชี้แนวทางแก้ปัญหาด้วยความจริง เช่น การพูดปรับความเข้าใจกัน “ ลืมมันเสียแล้วเริ่มต้นใหม่ ”
ถ้าปฏิบัติได้ดังกล่าวมานี้ ท่านก็น่าจะเป็นผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของผู้อื่น และชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่เขาเหล่านั้น

การวิเคราะห์เรื่อง


การวิเคราะห์เรื่อง


มื่อผู้พูดจะไปยังที่ใดที่หนึ่งก็ตาม โดยรู้หัวข้อที่จะพูดแล้ว ขั้นตอนในการตระเตรียมไปพูดนั้นอาจแบ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ 2 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ และการตระเตรียมเรื่องพูด
1. การวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ (The Audience)
เมื่อผู้พูดหัวข้อเรื่องที่จะพูดแล้วก็ควรจะวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ ควรรู้ว่าผู้ฟังคือใครมีพื้นฐานการศึกษาเพียงใด อายุเท่าไร เพศชายหรือหญิง มีอาชีพอะไร มีจำนวนเท่าไร จะพูดที่ใด มีเวลาพูดเท่าไร ทั้งนี้จะได้ตระเตรียมเรื่องให้เหมาะกับผู้ฟังเพราะการพูดชนิดเดียวกันอาจเหมาะสำหรับผู้ฟังกลุ่มหนึ่งแต่อาจไม่เหมาะกับผู้ฟังอีกกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้นการวิเคราะห์ผู้ฟังจึงเป็นการศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและเปรียบได้ว่าผู้พูดได้รู้จักฟังก่อน
1) วัยของผู้ฟัง ผู้ฟังที่มีวัยต่างกันย่อมจะมีความสนใจและเข้าใจเรื่องที่ฟังต่างกัน การเรียนรู้ถึงอายุ ก็เพื่อจะได้ทราบว่า การพูดกับคนในวัยนั้นๆควรจะใช้วิธีการพูดและคำพูดอย่างไร วัยเด็ก เด็กมีลักษณะซุกซน ไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่มีความอดทนฟังเรื่องได้นานๆ เบื่อง่ายชอบเรื่องสนุกสนาน ตลกขบขันชอบเล่น ฯลฯ เนื่องจากเด็กมีประสบการณ์ความรู้และความสนใจน้อย ดังนั้นถ้าจะพูดให้เด็กฟังหรือเขียนเรื่องให้เด็กอ่าน จึงควรจะเลือกเรื่องที่สนุกสนาน แฝงด้วยมุขตลกหรือเรื่องที่ให้ความบันเทิงเพลิดเพลินหรือเรื่องจินตนาการ
วัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระหว่างความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะยังไม่มีการรับผิดชอบในเรื่องใดๆ และยังไม่เข้าใจในเหตุการณ์บางอย่างเพราะไม่มีประสบการณ์เพียงพอ แต่เด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากทดลองกับสิ่งใหม่ๆ (modernity) ชอบชีวิตที่ตื่นเต้น เรื่องที่ครึกครื้น เรื่องที่เกี่ยวกับโลกในอนาคต เรื่องที่เป็นแบบฉบับในการสร้างความก้าวหน้า ชีวิตที่ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค เรื่องที่เกี่ยวกับความกล้าหาญความภาคภูมิใจ และการนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองและวงศ์ตระกูล ตลอดจนประเทศชาติ ฉะนั้นการเตรียมเรื่องพูดกับเด็กวัยรุ่นจึงควรมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งในเหตุการณ์ที่ทันสมัย แนวทางที่น่าทดลองน่ากระทำตาม การยอมรับความคิดเห็นและความสามารถของวัยรุ่นอย่างเป็นมิตร การเต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลือ
วัยกลางคน วัยกลางคนนี้เป็นวัยที่เริ่มจากอายุ 45 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่มีความรับผิดชอบกำลังสร้างฐานะและมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่อาชีพ การงานและชื่อเสียง เป็นวัยที่มุ่งมั่นในความประพฤติและอุดมคติของตนเอง รักความก้าวหน้า ความคิดอ่านกว้างขวาง และมีประสบการณ์พอสมควร เรื่องที่ควรนำมาพูดควรเกี่ยวกับ การครองชีพ มนุษยสัมพันธ์ กฎหมาย ความก้าวหน้าในชีวิต แนวการศึกษาของเยาวชน สังคมและความเป็นอยู่ อนาคตของเยาวชน ฯลฯ
วัยชรา คนวัยชราเป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์มากชอบยึดถือสิ่งที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เช่น คุณธรรม เป็นผู้ที่ชอบคิด และมุ่งหวังที่จะเห็นความเจริญก้าวหน้าของครอบครัว
วงศ์ตระกูล จึงควรเลือกเรื่องเกี่ยวกับธรรมะหรือเรื่องที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรม เรื่องธรรมชาติความจำในอดีต สังคมในอดีตที่คนวัยชรามีส่วนสร้างสรรค์หรือเกี่ยวข้อง ฯลฯ ส่วนการจัดเรื่องนั้นควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย พูดยกย่องความสามารถ ชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล และควรจะพูดในทำนองผู้ปรับทุกข์

2) เพศของผู้ฟัง ความสนใจของผู้ฟังนั้นย่อมขึ้นอยู่กับเพศเหมือนกัน ผู้พูดควรตระเตรียมเรื่องให้ เหมาะสมกับเพศของผู้ฟังดังนี้ เพศหญิง เพศหญิงมักสนใจในเรื่องความสวยความงาม การบ้านการเรือน การสมาคม การแต่งกาย การเสริมสร้างบุคลิกภาพ ความเคลื่อนไหวของสังคม ความบันเทิง ฯลฯ
เพศชาย เพศชายมักสนใจในเรื่องการเมือง การงาน สวัสดิภาพของครอบครัว การกีฬา เครื่องยนต์กลไก ฯลฯ เมื่อจะพูดให้เพศชายฟัง ผู้พูดควรตระเตรียมเรื่องให้พร้อม เนื้อเรื่องและคำพูดที่ใช้นั้นควรมีเหตุผลหนักแน่น น่าเชื่อถือ เพราะผู้ชายเป็นเพศที่จะถูกชักจูงโน้มน้าวจิตใจได้ยากกว่าเพศหญิง และเมื่อจะพูดให้เพศหญิงฟัง ผู้พูดควรนำคำที่สุภาพ อ่อนหวานมาใช้ เพราะเพศหญิงเป็นเพศที่อารมณ์ละเอียด อ่อนไหวง่าย
3) ความแตกต่างทางความเชื่อถือและศาสนา เป็นที่ทราบกันว่าเชื้อชาติ ศาสนา จารีตประเพณี และความเชื่อถือเป็นวัฒนธรรม อย่างหนึ่งที่คนเรายึดถือกันมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งความเชื่อถือและหลักปฏิบัติทางศาสนาบางอย่างก็เป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผล แต่คนในสังคมบางกลุ่มก็ยังยึดมั่นและปฏิบัติสืบต่อกันมา ฉะนั้นผู้พูดจึงควรศึกษาและระมัดระวังในเรื่องนี้ ควรจะทราบว่าผู้ฟังส่วนใหญ่ถือศาสนาใด ยึดมั่นแนวปฏิบัติอย่างไร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและไม่กล่าวถึง

4) ฐานะและอาชีพของผู้ฟัง (Class Audiences) การเรียนรู้อาชีพ ฐานะ หรือชั้น ของผู้ฟังมาก่อนย่อมเป็นผลกำไรของผู้พูด เพราะผู้ที่ต่างอาชีพกันย่อมมีความสนใจต่างกัน เมื่อผู้พูดรู้ว่าผู้ฟังเป็นคนชั้นใด จะได้สามารถตระเตรียมเนื้อหาตลอดจนวิธีการพูดได้ถูกต้อง ฐานะหรือชั้น ของผู้ฟังอาจแบ่งออกได้ดังนี้
1) ชนชั้นกลาง (The middiences ) คนชนชั้นกลางส่วนใหญ่ประกอบด้วยคนที่มีอาชีพการงานเป็นของตนเองเช่น พ่อค้า นักธุรกิจและผู้ที่รับราชการในขั้น “หัวหน้า” คนชั้นกลางเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์มากพอสมควรมีใจคอกว้างขวาง มีความอดทนมีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมที่จะฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าในอาชีพตน เรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย การปรับปรุงความเป็นอยู่ บุคลิกภาพ สิทธิพิเศษ ผู้พูดควรเตรียมเรื่องเศรษฐกิจการลง
2) ชนชั้นกรรมาชีพ (The Working Class) คนในชนชั้นนี้ได้แก่ ผู้ที่ใช้แรงงาน ซึ่งได้แก่กรรมกร ผู้รับจ้าง ลูกจ้างแรงงานฯลฯ คนในชนชั้นกรรมาชีพนี้เป็นผู้ที่มีความฉลาดพอสมควร (แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนสูง) เป็นผู้ที่ใฝ่ใจในการทำมาหาเลี้ยงชีพ สนใจในการเมือง เศรษฐกิจ แสวงหาความยุติธรรม รักพวกพ้อง และเกลียดการดูถูกเหยียดหยาม ฉะนั้นผู้พูดจึงควรเตรียมเรื่องด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายให้ความเป็นกันเอง หลีกเลี่ยงการพูดดูถูกเหยียดหยาม แต่ควรพูดในทำนองให้คำปรึกษา ให้ความเห็นใจ และให้ผู้ฟังเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพของตน
3) ผู้ฟังที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ (The Expert Audience) ถ้าผู้ฟังเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญผู้พูดจะต้องตระเตรียมเรื่องที่พูดให้พร้อมและให้ดียิ่ง เนื้อเรื่องที่ค้นคว้ามาพูดนั้นจะต้องมีข้อมูล ข้อเท็จจริงอ้างอิง สนับสนุน และเนื้อเรื่องที่จะนำไปพูดนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในสาขาวิชานั้น ๆ ตรวจดูก่อน
4) ผู้ฟังเรื่องทางการเมือง (The Political Audience) ถ้าผู้พูดจะต้องเตรียมเรื่องพูดในแนวการเมือง ผู้พูดควรเตรียมตัวล่วงหน้าว่าผู้ฟังส่วนหนึ่งจะเป็นมิตรและอีกส่วนหนึ่งจะคอยคัดค้าน ผู้พูดจะต้องเตรียมเนื้อเรื่องที่มีหลักฐานเหตุผลข้อเท็จจริงอ้างอิงได้ ข้อความต่างๆที่นำมาอ้าง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องพาดพิงกับเหตุการณ์จะต้องแน่นอน
5) ระดับการศึกษา ผู้พูดควรพิจารณาว่าผู้ฟังมีระดับการศึกษามากน้อยเพียงไร ถ้าผู้ฟังเป็นผู้มีการ
ศึกษาน้อย ผู้พูดจะต้องเตรียมเรื่องด้วยภาษาง่ายๆ เนื้อหาสั้นกระทัดรัด แต่ถ้าผู้ฟังเป็นผู้มีการศึกษาสูง ผู้พูดจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล มีแนวโน้มในด้านวิชาการ
6) สถานที่ การรู้ถึงสถานที่ที่จะพูดนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้พูด ควรจะทราบล่วงหน้าเพื่อจะได้
ตระเตรียมเนื้อเรื่องและการแต่งกายได้ถูกต้องและเหมาะสม
7) เวลา เวลาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้การพูดประสบความสำเร็จหรือไม่ เช่น การพูดใน
เวลากลางวัน หรือหลังจากอาหารกลางวันแล้วอากาศมักร้อนอบอ้าว ผู้ฟังอาจนั่งฟังไม่สบายเท่าที่ควรผู้พูดต้องเตรียมเรื่องพูดให้รวบรัดได้ใจความ ส่วนการพูดใกล้กับเวลาอาหารกลางวันหรือเวลาอาหารเย็นก็ไม่เหมาะ นอกจากนี้ผู้พูดควรทราบล่วงหน้าว่าตนมีเวลาพูดมากน้อยเพียงไร เพราะจะได้เตรียมเรื่องมาพูดให้พอเหมาะกับเวลา
8) โอกาส การพูดในแต่ละโอกาสย่อมไม่เหมือนกัน เช่น การพูดให้ความรู้แก่นักเรียน
นักศึกษา ย่อมแตกต่างไปจากพูดอวยพรเนื่องในวันคล้ายวันเกิด การใช้ภาษาท่าทาง ตลอดจนการแต่งกายก็เปลี่ยนไป ดังนั้นผู้พูดควรรู้ล่วงหน้าก่อนว่าตนจะพูดในโอกาสอะไร เพื่อจะได้เตรียมเนื้อเรื่องและเตรียมตัวไปพูดได้ถูกต้องและเหมาะสม

การพูดสุนทรพจน์


การพูดสุนทรพจน์
การพูดสุนทรพจน์ เป็นการพูดที่มีลักษณะของการใช้ถ้อยคำภาษาที่งดงามสละสลวย เป็นการพูดในโอกาสสำคัญ ที่มุ่งให้ความรู้และแสดงความคิดเห็น และถือเป็นการพูดในที่ชุมนุมชน ผู้กล่าวสุนทรพจน์มักจะเป็นบุคคลสำคัญหรือเป็นผู้มีอาวุโสในที่นั้น เช่น อาจารย์ใหญ่ ประธานสมาคม ถึงแม้ว่าในวัยนักเรียนอาจจะไม่ค่อยมีโอกาสที่จะได้กล่าวสุนทรพจน์บ่อยครั้งนักก็ตาม แต่นักเรียนก็ควรจะได้ฝึกหัดเพื่อเตรียมความพร้อม หรือเพื่อเป็นหลักในการฟังสุนทรพจน์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพศรัทธา
ก่อนอื่นนักเรียนจะต้องเรียบเรียงบทพูดสุนทรพจน์โดยการเลือกใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสหรือกาลเทศะ แล้วเลือกถ้อยคำประโยคหรือข้อความที่ไพเราะ สละสลวย คมคาย เพื่อความประทับใจผู้ฟัง และควรแทรกความคิดเห็นที่เป็นคติเตือนใจด้วย
ในกล่าวสุนทรพจน์ เรามักใช้วิธีการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องแม่นยำ แต่ก็ควรระมัดระวังว่าให้เป็นทำนองของการพูดมิใช่การอ่าน และผู้พูดต้องฝึกซ้อมให้ดีก่อนการพูดจริง จึงจะทำให้การพูดการอ่านต้นฉบับนั้นราบรื่นไม่ติดขัด และน่าสนใจ ไม่ฟังเป็นเสียงอ่านจนมากเกินไป ขณะเดียวกันท่าทางการพูดสุนทรพจน์โดยอ่านจากต้นฉบับนั้น เราควรเงยหน้าดูผู้ฟังเป็นระยะๆ ด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ และแสดงถึงบุคคลิกที่สง่างาม

คำบุพบท

คำบุพบท
คำบุพบท คือ คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้วทำให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย ฯลฯ
หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท
1. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง
2. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง
3. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน
4. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก
5. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน
หลักการใช้คำบุพบทบางคำ
" กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น ฉันเห็นกับตา
"แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น ครูให้รางวัลแก่นักเรียน
"แด่" ใช้แทนตำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น นักเรียนมอบพวงมาลัยแด่อาจารย์
"แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น เขามาแต่บ้าน
"ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะหน้าถัดไป เทียบจำนวน เป็นต้น เช่น เขายื่นคำร้องต่อศาล
คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น
ลูกชายของนายแดงเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของนายดำเรียนเก่ง
ครูทำงานเพื่อนักเรียน
เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน
ชนิดของคำบุพบท คำบุพบทแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้
- บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของฉันซื้อสวนของนายฉลอง ( นามกับนาม )
บ้านของเขาใหญ่โตแท้ๆ ( นามกับสรรพนาม )
อะไรของเธออยู่ในถุงนี้ ( สรรพนามกับสรรพนาม )
- บอกความเกี่ยวข้อง
เธอต้องการมะม่วงในจาน ( นามกับนาม )
พ่อเห็นแก่แม่ ( กริยากับนาม )
ฉันไปกับเขา ( กริยากับสรรพนาม )
- บอกการให้และบอกความประสงค์
แกงหม้อนี้เป็นของสำหรับใส่บาตร ( นามกับกริยา )
พ่อให้รางวัลแก่ฉัน ( นามกับสรรพนาม )
- บอกเวลา
เขามาตั้งแต่เช้า ( กริยากับนาม )
เขาอยู่เมืองนอกเมื่อปีที่แล้ว ( นามกับนาม )
- บอกสถานที่
เธอมาจากหัวเมือง ( กริยากับนาม )
- บอกความเปรียบเทียบ
เขาหนักกว่าฉัน ( กริยากับนาม )
เขาสูงกว่าพ่อ ( กริยากับนาม )
2. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น
ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม
ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน
ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด
ช้าแต่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้
ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท
1. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น
เขามุ่งหน้าสู่เรือน
ป้ากินข้าวด้วยมือ
ทุกคนควรซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
2. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น
เขาเป็นลูกฉัน ( เขาเป็นลูกของฉัน )
แม่ให้เงินลูก ( แม่ให้เงินแก่ลูก )
ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยมาก )
3. ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
เธออยู่ใน พ่อยืนอยู่ริม
เขานั่งหน้า ใครมาก่อน
ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง
ตำแหน่งของคำบุพบท ตำแหน่งของคำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้
1. นำหน้าคำนาม
เขาเขียนจดหมายด้วยปากกา
เขาอยู่ที่บ้านของฉัน
2. นำหน้าคำสรรพนาม
เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา
เขาพูดกับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว
3. นำหน้าคำกริยา
เขาเห็นแก่กิน
โต๊ะตัวนี้จัดสำหรับอภิปรายคืนนี้
4. นำหน้าคำวิเศษณ์
เขาวิ่งมาโดยเร็ว
เธอกล่าวโดยซื่อ